วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อาชญากรรมน่าสนใจ

การป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก โดย ทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม (Proactive Crime Prevention By Crime Triangle Theory)

เรียบเรียงโดย พ.ต.อ.วิสูตร ฉัตรชัยเดช รอง ผบก.ภ.จว.ปทุมธานี เมื่อ 17 มี.ค.2554

สถานการณ์ของโลกในยุคปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การเปลี่ยนแปลงและความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วดังกล่าว ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาหลายประการ เช่น ปัญหาสังคม ปัญหาแรงงาน ปัญหายาเสพติดและปัญหาอาชญากรรม เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาอาชญากรรมมีแนวโน้มสูงมากขึ้น ดังนั้น การทำงานของตำรวจในยุคปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในสภาวะขาดแคลนด้านกำลังพล และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ จึงต้องพยายามปฏิบัติหน้าที่อย่างมืออาชีพ โดยมุ่งเน้นก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายหรือผลสำเร็จได้นั้นตำรวจจะต้องรู้จักการกำหนดยุทธศาสตร์หรือกลยุทธในการแก้ไขปัญหาให้ “ถูกจุดและตรงประเด็น"ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ได้เสนอแนะแนวทางการป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก โดยใช้ทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม โดยมีหลักปรัชญาที่ว่า “สร้างความหวาดกลัวให้กับคนร้าย และสร้างความอบอุ่นใจให้กับคนดี” เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้การทำงานจะประสบผลสำเร็จได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการที่ดี มีการบูรณาการทั้งด้านกำลังพล เครื่องมือเครื่องใช้ มีการประสานงานกับเครือข่ายต่างๆ ทุกภาคส่วนในแต่ละพื้นที่ จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“การจับผู้ร้ายนั้นไม่ถือเป็นความชอบ เป็นแต่นับว่าผู้นั้นได้กระทำการครบถ้วนแก่หน้าที่นั้น แต่จะถือเป็นความชอบต่อเมื่อได้ปกครองป้องกันเหตุร้ายให้ชีวิตและทรัพย์สมบัติของข้าแผ่นดินในท้องที่นั้น อยู่เย็นเป็นสุขพอสมควร”

จากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ดังกล่าวข้างต้น ถือได้ว่าเป็นการวางรากฐานหรือหลักการทำงานในด้านการป้องกันอาชญากรรม ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติและตำรวจทุกคนควรน้อมนำมาปฏิบัติ คือการมุ่งเน้นการป้องกันอาชญากรรม (Crime Prevention) ก่อนเกิดเหตุ

ปัจจุบันกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกค่อนข้างรวดเร็วและรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ก่อให้เกิดปัญหาตามมาหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านสังคม ด้านแรงงาน ยาเสพติดให้โทษ และปัญหาอาชญากรรมที่มีแนวโน้มสูงมากขึ้น จึงถือว่าเป็นหน้าที่สำคัญของตำรวจที่ปฏิบัติงานในแต่ละพื้นที่ ต้องพยายามทุ่มเทแรงกายและใจ ในการแก้ปัญหาอาชญากรรมดังกล่าว โดยจะต้องมุ่งเน้นการปฏิบัติงานในเชิงรุก (Proactive)

การป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก (Proactive Crime Prevention) ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจยุคปัจจุบัน โดยเบื้องต้นตำรวจต้องมีข้อมูล (Data) ที่จะใช้ในการวิเคราะห์สภาพปัญหาอาชญากรรม (Crime Analysis) ที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ ข้อมูลนั้นอาจจะมาจากคดีที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่พนักงานสอบสวนได้รับคำร้องทุกข์ไว้แล้ว คดีที่เกิดขึ้นแต่ยังไม่ได้รับคำร้องทุกข์หรือข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากการร้องเรียนของประชาชน สื่อมวลชนเป็นต้น เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวแล้ว จะทำให้ทราบถึง ช่วงเวลา (Time) สถานที่ที่เกิดเหตุ (Place) พฤติกรรมของคนร้าย ตลอดจนสภาพปัญหาและสาเหตุของการเกิดอาชญากรรม อันจะนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมต่อไป

ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมนั้น มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมากมาย แต่ในที่นี้จะขอนำเสนอ “ทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม (Crime Triangle Theory)” ซึ่งเป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงสาเหตุหรือองค์ประกอบของการเกิดอาชญากรรม ได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย และเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกระดับ สามารถนำเอาแนวคิดจากทฤษฎีดังกล่าวไปกำหนดยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่ ทั้งด้านการป้องกันและการปราบปรามอาชญากรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นรูปธรรม เหมาะกับสภาพความเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง

ทฤษฎีสามเหลี่ยอาชญากรรม (Crime Triangle Theory) ได้อธิบายถึงสาเหตุหรือองค์ประกอบของการเกิดอาชญากรรม ประกอบด้วยด้านต่าง ๆ ของสามเหลี่ยม 3 ด้าน คือ

1. ผู้กระทำผิด/คนร้าย (Offender) หมายถึง ผู้ที่มีความต้องการ (Desire) จะก่อเหตุหรือลงมือกระทำความผิด

2. เหยื่อ (Victim)/เป้าหมาย (Target) หมายถึง บุคคล สถานที่ หรือวัตถุสิ่งของ ที่ผู้กระทำผิดหรือคนร้าย มุ่งหมายกระทำต่อ หรือเป็นเป้าหมายที่ต้องการ

3. โอกาส (Opportunity) หมายถึง ช่วงเวลา (Time) และสถานที่ (Place) ที่เหมาะสมที่ผู้กระทำผิดหรือคนร้าย มีความสามารถจะลงมือกระทำความผิดหรือก่ออาชญากรรม

เมื่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์ครบองค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เกิดอาชญากรรมขึ้น ทฤษฏีดังกล่าวได้เสนอแนวคิดในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม หรือการป้องกันไม่ให้เกิดอาชญากรรม โดยต้องพยายามทำอย่างไรก็ตามที่จะให้องค์ประกอบของสามเหลี่ยมอาชญากรรม ด้านใดด้านหนึ่งหายไป ก็จะทำให้อาชญากรรมไม่เกิดขึ้น ดังนั้นในการปฏิบัติงานของตำรวจในแต่ละพื้นที่ ควรนำแนวคิดของทฤษฎีดังกล่าวมาใช้ในการป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก ตามยุทธศาสตร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวคือ ต้องพยายามทำให้องค์ประกอบการเกิดอาชญากรรม ด้านใดด้านหนึ่งของสามเหลี่ยมหายไป โดยมีวิธีการในการดำเนินการ ดังต่อไปนี้คือ

1. ด้านผู้กระทำผิดหรือคนร้าย (Offender)

ต้องพยายามลดหรือควบคุมจำนวนผู้กระทำความผิดหรือคนร้ายในพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยมุ่งเน้นใช้ทฤษฎีบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement Theory) เช่น การเฝ้าระวังบุคคลพ้นโทษที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่ การกำหนดมาตรการควบคุมแหล่งอบายมุขหรือสถานบริการที่จะเป็นแหล่งเพาะอาชญากรรม การระดมกวาดล้างอาชญากรรมอย่างสม่ำเสมอ การจับกุมผู้กระทำความผิดตามหมายจับ การสืบสวนหาข่าวเกี่ยวกับแหล่งซ่องสุมของผู้กระทำความผิดหรือคนร้าย มาตรการตีวงสุรา การปิดล้อมตรวจค้น การไประงับเหตุอย่างรวดเร็วของสายตรวจ เพื่อให้สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดหรือคนร้ายได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติดให้โทษ และปัญหาการว่างงาน เป็นต้น

2. ด้านเหยื่อ (Victim)/เป้าหมาย (Target)

ผู้เสียหาย หรือเหยื่อ หรือประชาชนทั่วไป ต้องรู้จักการป้องกันตนเอง ครอบครัว และชุมชนหรือสังคม ตำรวจจะต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ โดยมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม หรือไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม เช่น การแต่งตัว การใส่เครื่องประดับหรือของที่มีค่า การหลอกลวงของคนร้ายในลักษณะต่างๆ โดยอาจจะจัดเป็นโครงการตำรวจเตือนภัย โครงการตรวจเยี่ยมประชาชน(Knock Door) หรือโครงการครู D.A.R.E เป็นต้น

3. ด้านโอกาส (Opportunity)

โอกาสที่ผู้กระทำความผิดหรือคนร้ายจะลงมือก่ออาชญากรรมนั้นจะต้องอาศัย เวลาและสถานที่ที่เหมาะสมในการก่อเหตุ ตำรวจต้องพยายามหาวิธีการเพื่อที่จะตัดช่องโอกาสของคนร้ายดังกล่าว โดยแยกออกเป็น

1) เวลา ต้องพยายามตัดช่องโอกาสในเรื่องเวลาที่จะเกิดเหตุ โดยมุ่งเน้นการปรากฎตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจ (Show off Force) การตั้งจุดตรวจค้น เป็นต้น

2) สถานที่ สำหรับเรื่องการตัดช่องโอกาสในเรื่องสถานที่นั้น สามารถกระทำได้หลายวิธีและมีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมากมาย เช่น ทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม (Crime Control Through Environmental Design) เป็นวิธีการปรับสภาพแวดล้อมและใช้ประโยชน์สภาพแวดล้อม ในการลดโอกาสการก่ออาชญากรรม เช่น การสร้างรั้วหรือสิ่งกีดขวางมิให้ผู้กระทำผิดเข้าถึงบริเวณสิ่งของ หรือบุคคล โดยเพิ่มความเสี่ยงที่คนร้ายจะถูกตรวจพบหรือถูกจับกุมมากยิ่งขึ้น หรือการจัดระเบียบพื้นที่ที่มีแนวโน้มจะเกิดอาชญากรรม (พื้นที่เสี่ยง) ตามหลักทฤษฎีหน้าต่างแตก (Broken Windows Theory) โดยจะต้องรีบเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาก่อนที่จะเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ดังกล่าว การจัดการพื้นที่ให้ปลอดภัยตาม โครงการพื้นที่ปลอดภัย (Safety Zone) หรือโครงการเพื่อนบ้านเตือนภัย (Neighborhood Watch) รวมตลอดถึงการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือเครื่องใช้ทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) การใช้สัญญาณเตือนภัย ทั้งนี้ตำรวจจะต้องเข้าไปจัดการ ให้มีการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนเพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ตามโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing) โดยมุ่งเน้นการสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อให้ชุมชนสามารถดูแลตัวเองได้อย่างยั่งยืนตลอดไป

การป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก โดยการทำให้องค์ประกอบของการเกิดอาชญากรรม ด้านใดด้านหนึ่งของสามเหลี่ยมหายไป ตามหลักการของทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะทำให้การปฏิบัติงานของตำรวจมีเป้าหมายที่ชัดเจน เข้าใจง่ายและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น จึงเห็นควรที่ผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าหน่วยงาน ควรนำแนวคิดการป้องกันอาชญากรรมเชิงรุกโดยใช้ทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม ชี้แจงทำความเข้าใจกับตำรวจ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่แก้ไขปัญหาอาชญากรรม ได้บรรลุเป้าหมาย เกิดประโยชน์สูงสุด และสร้างความพึงพอใจแก่พี่น้องประชาชนทั่วไป

สำหรับมาตรการในการป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก โดยสรุปอาจแบ่งออกเป็น 5 มาตรการ ดังนี้คือ

1. โดยตำรวจ หมายถึงการป้องกันอาชญากรรมในหน้าที่ของตำรวจ เช่น การจัดสายตรวจออกตรวจ การตั้งจุดตรวจค้น

2. โดยเจ้าของพื้นที่ หมายถึง เจ้าของพื้นที่ในแต่ละพื้นที่ต้องให้ความสนใจในการป้องกันอาชญากรรมที่จะเกิดขึ้น ในพื้นที่ของตนเอง เช่น ห้างสรรพสินค้า หมู่บ้าน สถานที่ทำงาน หน่วยราชการต่างๆ เป็นต้น

3. โดยผู้ใช้พื้นที่ หมายถึง ประชาชนโดยทั่วไปที่เข้าไปใช้พื้นที่ต่างๆ จะต้องรู้จักระมัดระวังในการป้องกันตนเอง เช่น การแต่งตัว การประดับของมีค่าติดตัว

4. โดยหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หมายถึง หน่วยงานราชการ หรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอาชญากรรม เช่น องค์การบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น ฝ่ายปกครอง เป็นต้น

5. โดยใช้เทคโนโลยี หมายถึง การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อช่วยในการป้องกันอาชญากรรม เช่น กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) สัญญาณเตือนภัย

บทสรุป

การป้องกันอาชญากรรมเชิงรุกโดยใช้ทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์สถานภาพอาชญากรรม

ขั้นตอนที่ 2 การป้องกันอาชญากรรมเชิงรุกโดยใช้ทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผล

โดยยึดหลักปรัชญาที่ว่า

“ สร้างความหวาดกลัวให้กับคนร้าย สร้างความอบอุ่นใจให้กับคนดี”

ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์สถานภาพอาชญากรรม (Crime Analysis) โดยนำข้อมูลที่รวบรวมไว้ มาวิเคราะห์เพื่อให้ทราบ ช่วงเวลา (Time) สถานที่ที่เกิดเหตุ (Place) โดยเฉพาะแหล่งที่เกิดอาชญากรรมหนาแน่น (Hot spot) ตลอดจนพฤติกรรมของคนร้าย สภาพปัญหาและสาเหตุของการเกิดอาชญากรรม

สำหรับข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์นั้น ต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงให้มากที่สุด ซึ่งจะประกอบไปด้วยข้อมูลคดีที่เกิดขึ้นและพนักงานสอบสวนได้รับคำร้องทุกข์ไว้ คดีที่ยังไม่ได้รับคำร้องทุกข์ ข้อมูลการร้องเรียนจากประชาชน สื่อมวลชนต่างๆ เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 การป้องกันอาชญากรรมเชิงรุกโดยใช้หลักการของทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม

สำหรับขั้นตอนนี้ หัวหน้าสถานีตำรวจควรใช้เทคนิคการระดมสมอง (Brainstorming) เพื่อร่วมคิด ร่วมวางแผน และกำหนดแนวทางการปฏิบัติ โดยสร้างความเข้าใจกับตำรวจทุกฝ่ายในหน่วยงาน ให้มีความพร้อม และเต็มใจที่จะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง

การจัดทำโครงการ กิจกรรม หรือมาตรการต่างๆ ต้องให้ปรากฎรายละเอียดอย่างเป็นรูปธรรม กำหนดระยะเวลาการปฏิบัติ และผู้รับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน ประการสำคัญคือ ต้องมีการปฏิบัติอย่างจริงจัง มีการรายงานผลการปฏิบัติ และถ่ายภาพประกอบ

โครงการ กิจกรรม หรือมาตรการต่างๆ ควรดำเนินการให้ครบทั้ง 3 ด้าน คือ คนร้าย การตัดช่องโอกาส และผู้เสียหาย หรือเหยื่อโดยดำเนินการควบคู่กันไป ทั้งนี้ให้เหมาะสมกับสถานภาพอาชญากรรมและสภาพพื้นที่ ตามที่ได้วิเคราะห์ข้อมูลไว้แล้ว
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผล

จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยอาจจะดูจากสถิติคดีอาญาเปรียบเทียบ ตัวชี้วัดตาม คำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ก.พ.ร.) สุดท้ายคือการวัดผลลัพท์ในเรื่องของความรู้สึกหวาดกลัวภัยอาชญากรรม และความพึงพอใจของประชาชน

ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วย
การป้องกันและปราบปรามการทุจริต
..2546
……………………………….

                   ตามคำสั่ง กรมตำรวจ ที่ 9/2498 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2498 ให้ใช้ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ที่ 1/2498 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2498 เรื่อง วางระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดีไว้เป็นแนวทางปฏิบัติแล้ว นั้น
                   เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ..2542 มาตรา 89 บัญญัติว่าในกรณีที่ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์หรือมีผู้กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมิใช่บุคคลตามมาตรา 66 อันเนื่องมาจากได้กระทำการตาม มาตรา 83 ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป... ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ เพื่อจะดำเนินการตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ในการนี้หากคณะกรรมการ ป...พิจารณาแล้วเห็นว่า เรื่องดังกล่าวมิใช่กรณีตามมาตรา 88 ให้คณะกรรมการ ป... ส่งเรื่องกลับไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาต่อไปโดยกฎหมายดังกล่าวยังมิได้กำหนดขั้นตอนและวิธีการดำเนินการของพนักงานสอบสวนไว้ จึงสมควรวางหลักเกณฑ์การปฏิบัติในเรื่องนี้ไว้เพื่อให้พนักงานสอบสวนสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
                   ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ 3 แห่งข้อบังคับกระทรวงหมาดไทย ที่ 4/2499 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2499 ประกอบกับมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาโอนกรมตำรวจ  กระทรวงมหาดไทย ไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ..2541 ที่ให้อำนาจผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยกเลิก แก้ไข เพิ่มเติมประมวลระเบียบการตำรวจ ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับคดีและในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับคดี จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
                   ข้อ 1 ให้เพิ่มความที่แนบท้ายระเบียบนี้เป็น บทที่ 24 ลักษณะ 18 แห่งประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี
                   ข้อ 2 ให้ใช้ระเบียบนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ    วันที่  14  พฤษภาคม พ..2546

 พลตำรวจเอก    สันต์  ศรุตานนท์
           ( สันต์  ศรุตานนท์ )
                                                           ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ        


 
ลักษณะ 18
กรณีบางเรื่องที่มีวิธีปฏิบัติเป็นพิเศษ
บทที่ 24
แนวทางการปฏิบัติในการดำเนินคดีความผิดตามกฎหมาย
ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
…………………………….

เพื่อให้การปฏิบัติของเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานสอบสวน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงวางระเบียบแนวทางการปฏิบัติไว้ดังต่อไปนี้
                   ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่าระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติในการดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ..2546”
                   ข้อ 2. บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้ว ซึ่งขัดหรือแย้ง          กับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
                   ข้อ  3. ในระเบียบนี้
                   เจ้าหน้าที่ของรัฐ หมายความว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือบุคคลผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ และให้หมายความรวมถึงกรรมการ อนุกรรมการ ลูกจ้างของ          ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วงยงานของรัฐ และบุคคลหรือคณะบุคคล ซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางการปกครองของรัฐ ในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ
                   ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หมายความว่า
(1)    นายกรัฐมนตรี
(2)    รัฐมนตรี
(3)    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(4)    สมาชิกวุฒิสภา
(5)    ข้าราชการการเมืองอื่นนอกจาก (1) และ (2) ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ
การเมือง
(6)    ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(7)    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภา
กรุงเทพมหานคร
(8)    ผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลนคร
(9)    ผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีรายได้
หรืองบประมาณไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                   ผู้เสียหาย หมายความว่า ผู้เสียหายจากการกระทำอันเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
                   ผู้ถูกกล่าวหา หมายความว่า ผู้ซึ่งถูกกล่าวหาว่าได้กระทำการอันเป็นมูลที่จะนำไปสู่การถอดถอนจากตำแหน่ง การดำเนินคดีอาญา การขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือการดำเนินการทางวินัย ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ..2542 และให้หมายความรวมถึงตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนในการกระทำดังกล่าวด้วย
                   ทุจริตต่อหน้าที่ หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือ    หน้าที่ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่มิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
                   ร่ำรวยผิดปกติหมายความว่า การมีทรัพย์สินมากผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ หรือการมีหนี้สินลดลงมากผิดปกติ หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่
                   ข้อ 4. ในกรณีที่มีผู้เสียหายมาร้องทุกข์ หรือมีผู้กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้    ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมิใช่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา     หรือข้าราชการการเมืองอื่นว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ในขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เกินสองปี ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการดังนี้
4.1  สอบสวนปากคำผู้ร้องทุกข์หรือผู้กล่าวโทษแล้วบันทึกการรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าว
โทษในสมุดรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี โดยไม่ต้องบันทึกการรับคำร้องทุกข์หรือกล่าวโทษในสมุดสารบบการดำเนินคดีอาญาทั่วไป
4.2  ดำเนินการสอบสวนพยานบุคคลที่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดี และรวบรวมพยานหลักฐาน
ต่าง ๆ เพื่อประกอบคดี
4.3  ตรวจสอบว่าผู้ถูกกล่าวหามีชื่อ สกุล เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมีตำแหน่งหน้าที่ราชการ
สังกัดใด พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไปแล้วตั้งแต่เมื่อใด
4.4  ให้พิจารณาคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษนั้น ได้กล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าว
กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำความผิด              ต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ในฐานความผิดใด
4.5              เมื่อดำเนินการตาม 4.1-4.4 แล้วให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป...ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษหากพนักงานสอบสวนพิจารณาแล้วปรากฏว่าไม่เป็นคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษ หรือไม่มีการกระทำความผิดให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 13 บทที่ 3 เรื่องคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษโดยเคร่งครัด ด้วยการลงรายงานประจำวันชี้แจงหลักกฎหมายไว้เป็นหลักฐาน และแจ้งให้ผู้แจ้งความทราบ
                   ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่น ให้พนักงานสอบสวนชี้แจงแนะนำผู้เสียหายทราบว่า ตามมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ..2542 ได้กำหนดให้   ผู้เสียหายไปยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการ ป...โดยตรง และให้พนักงานสอบสวนบันทึก         การดำเนินการดังกล่าวในรายงานประจำวันไว้เป็นหลักฐานด้วย
                   ข้อ 5. ในระหว่างที่พนักงานสอบสวนยังมิได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป...ดำเนินการ หากผู้ถูกกล่าวหาเข้าหาพนักงานสอบสวนเองหรือผู้ที่มาปรากฏตัวต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ถูกกล่าวหา ให้พนักงานสอบสวนทำการตรวจสอบให้ได้ความแน่ชัดว่าผู้นั้นเป็นผู้ถูกกล่าวหา แล้วดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 โดยให้ถามชื่อตัว นามสกุล ชาติบังคับ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งข้อหาให้ทราบ และต้องบอกให้ทราบก่อนว่าถ้อยคำที่กล่าวนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันเขาในการพิจารณาได้ เมื่อเต็มใจให้การอย่างใดก็ให้จดคำให้การไว้ ถ้าไม่เต็มใจให้การเลยก็ให้บันทึกไว้ เมื่อพนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป...แล้ว อำนาจของพนักงานสอบสวนย่อมสิ้นสุดลง ดังนั้น อำนาจในการควบคุมตัวผู้ถูกกล่าวหาหรือสัญญาประกันกรณีที่มีการปล่อยตัวชั่วคราวย่อมสิ้นสุดลงเช่นเดียวกันและให้ปล่อยตัวหรือขอให้ศาลปล่อยตัวผู้ถูกกล่าวหาไปในทันที             
ในกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้ร่วมกระทำความผิดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม
ความผิดดังกล่าวข้างต้น     ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการในลักษณะเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำ
ความผิด โดยรวมเป็นสำนวนเดียวกันเพื่อส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป...ดำเนินการต่อไป
                   ข้อ 6. เนื่องจากความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม เป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ..2542 จึงให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่และพนักงานสอบสวนปฏิบัติตามระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะ 18 บทที่ 21 เรื่องแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน โดยเคร่งครัดอีกส่วนหนึ่งด้วย
                   ข้อ 7. เมื่อได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป...แล้ว ต่อมาปรากฏว่าคณะกรรมการ ป...   ส่งเรื่องคืนมาให้พนักงานสอบสวนดำเนินการ จึงบันทึกการรับคำร้องทุกข์หรือกล่าวโทษลงในสมุดสารบบการดำเนินคดีอาญาทั่วไปแล้วรีบสอบสวนต่อไปโดยมิชักช้า

                   (ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ..2546 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ..2546)

แนวทางปฎิบัติการสอบสวนคดีอาญากรณีพิเศษบางประเภท

http://criminalaffairs.police.go.th/23-2556.pdf

ว่าด้วย.....การยึดใบขับขี่ของตำรวจจราจร

พินิจ..ประเด็นว่า ตำรวจจราจรจะมีอำนาจยึดใบขับขี่หรือไม่ จะเห็นว่า ใบขับขี่เป็นกรรมสิทธิ์ของเรา คนอื่นจะมายึดมายุ่งโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมายไม่ได้ ธนัง ได้ ค้นหาคำตอบมาฝากกัน มีคำตอบว่า หากตำรวจจะยึดใบขับขี่ในกรณีที่เราทำผิดกฎจราจรได้ ก็ต้องค้นหาว่าตำรวจอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติใดแห่งกฎหมายที่จะยึดใบขับขี่ ทั้งนี้เพราะหลักกฎหมายทั่วไปมีว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐจะใช้อำนาจกระทบสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไม่ได้ เว้นแต่จะอาศัยอำนาจที่กฎหมายบัญญัติไว้” ซึ่งหากไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ตำรวจก็จะยึดใบขับขี่ไม่ได้ หากยึดไปโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจก็อาจจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้ อย่างไรก็ดี เมื่อค้นคว้าตัวบทกฎหมายก็พบว่า พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ บัญญัติไว้ว่า “มาตรา ๑๔๐ เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่าผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้นๆ จะว่ากล่าว ตักเตือนผู้ขับขี่ หรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบก็ได้ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ก็ให้ติดหรือผูกใบสั่งไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่เห็นได้ง่าย สำหรับความผิดที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๕๗/๑ มาตรา ๑๕๙ มาตรา ๑๖๐ มาตรา ๑๖๐ ทวิ และมาตรา ๑๖๐ ตรี ห้ามมิให้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทำการเปรียบเทียบ ในการออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ แต่ต้องออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ขับขี่ไว้ และเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องรีบนำใบอนุญาตขับขี่ที่เรียกเก็บไว้ไปส่งมอบพนักงานสอบสวนภายในแปดชั่วโมง นับแต่เวลาที่ออกใบสั่ง ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ที่ออกให้ตามวรรคสามให้ใช้แทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นการชั่วคราวไม่เกินเจ็ดวัน เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานสอบสวนได้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทำการเปรียบเทียบปรับและผู้ขับขี่ได้ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้คืนใบอนุญาตขับขี่ทันที ในกรณีเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบสั่งแต่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถเป็นผู้กระทำผิดดังกล่าว เว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้อื่นเป็นผู้ขับขี่ การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด ใบสั่งและใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ ให้ทำตามแบบที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด” ดังนั้น จะเห็นได้ว่า จากบทบัญญัติของมาตรา ๑๔๐ นี้ ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานซึ่งหมายถึง ตำรวจจราจรที่จะยึดใบอนุญาตขับขี่ได้เมื่อมีการฝ่าฝืนกฎจราจร จึงทำให้แม้ผู้เป็นเจ้าของใบขับขี่มีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๓๖ แต่ตำรวจจราจรก็มีอำนาจตามกฎหมายเฉพาะที่จะยึดใบขับขี่ได้ เช่นนี้แล้วเมื่อตำรวจจราจรมีอำนาจตามกฎหมายในการยึดใบขี่ การที่ตำรวจจราจรเอาใบขับขี่ของเราไป เราก็จะไปแจ้งความว่าตำรวจมีความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ได้ เพราะการเอาไปของตำรวจเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์สินโดยมีอำนาจตามกฎหมาย สรุป คือ ตำรวจมีอำนาจยึดใบขับขี่ชั่วคราวและออกใบสั่งให้ไปเสียค่าปรับ ใบสั่งใช้แทนใบขับขี่ชั่วคราวได้ 7 วันครับ เอวังด้วยประการฉะนี้ รักษากฎหมายด้วยความเป็นธรรม..ตำรวจไทย 
ขอบคุณพี่ ศุภวิชญ์ ภักดีรักษา
อ้างอิง: https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=10200642099475235&id=1242701991

แล้วถ้าเจ้าพนักงานยึดใบขับขี่ โดยที่เราไม่มีความผิด แต่ท่านออกใบสั่ง ชาวรัชดาจะทำยังไงครับ